ก่อนที่จะยื่นภาษีสิ่งหนึ่งที่เราอยากให้เพื่อน ๆ นึกถึงคือวิธีคำนวณภาษีเป็นอันดับแรก ๆ เลย แม้ว่าการยื่นภาษีออนไลน์จะมีโปรแกรมในการคำนวณภาษีให้อยู่แล้ว แต่เพื่อความชัวร์การคำนวณด้วยตนเองก่อนก็การเตรียมตัวที่ดีเลยหละ ซึ่งถ้าเพื่อน ๆ สงสัยว่าวิธีคำนวณภาษี ในปี 2568 นี้จะต้องคำนวณอะไรยังไงบ้าง ก็ตามเรามาในบทความ เปิดวิธีคำนวณภาษีประจำปี 2568 แบบเข้าใจง่าย ใคร ๆ ก็ทำได้
สูตรการคำนวณภาษี แบบสั้นกระชับ เข้าใจง่าย
ก่อนอื่นเราขอสรุปสูตรการคำนวณภาษีสั้น ๆ ให้เพื่อน ๆ ตามนี้กันก่อนเลย
ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี
โดยเพื่อน ๆ สามารถหาเงินได้สุทธิได้ตามสูตรนี้เลย
เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าสุดหย่อน
สูตรการคำนวณก็ง่าย ๆ เท่านี้เลยหละ แต่จะนำสูตรเหล่านี้ไปใช้คำนวณภาษีด้วยวิธีไหนตามมาดูกันได้เลย
สิ่งที่ต้องรู้ก่อนคำนวณภาษี
ก่อนที่เพื่อน ๆ จะไปเรียนรู้วิธีคำนวณภาษีกัน มีสิ่งที่เพื่อน ๆ ต้องเกี่ยวกับการเงินของตัวเองกันก่อนเลย โดยเราแบ่งให้เข้าใจง่าย ๆ ตามนี้เลย
รายได้ทั้งปี
รายได้ของเพื่อน ๆ ที่รวมมาแล้วทั้งปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึง 31 ธันวาคม ทั้งรายได้หลักอย่างเงินเดือน และรายได้จากงานเสริมอื่น ๆ ทั้งหมด
ค่าใช้จ่าย
ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและต้นทุนในการทำธุรกิจต่าง ๆ ถ้าเป็นเงินเดือนสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 50% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดได้เลย แต่ไม่เกิน 100,000 บาทนะ
ค่าลดหย่อน
สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี เพื่อเป็นตัวช่วยให้กับเพื่อน ๆ โดยแบ่งออก 4 กลุ่ม ดังนี้เลย
1. ค่าลดหย่อนพื้นฐาน
- ค่าลดหย่อนส่วนตัว จำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรสจำนวน 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตรไม่เกินครรภ์ละ 60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนภาษีบุตร จำนวน 30,000 บาทต่อคน
- ค่าลดหย่อนสำหรับเลี้ยงดูบิดามารดาของตนเองและของคู่สมรสคนละ 30,000 บาท ไม่เกิน 4 คน
- ค่าลดหย่อนภาษีกรณีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพลภาพคนละ 60,000 บาท และผู้พิการต้องมีรายได้ไม่เกิน
- 30,000 บาท
2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เก็บออมและการลงทุน
- เงินประกันสังคม ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 9,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตและประกันแบบสะสมทรัพย์ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพ และเบี้ยประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองสุขภาพลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 25,000 บาท และรวมกับประกันสะสมทรัพย์แล้วไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพของบิดามารดาลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท
- เงินลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืนลดหย่อนได้ 30% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)ลดหย่อนได้ 30% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF)ลดหย่อนได้ 30% แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) / กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนลดหย่อนได้ 15% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนบำเหน็จบำนาญราชการ (กบข.) ลดหย่อนได้ 30% แต่ไม่เกิน 500,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)ลดหย่อนภาษีได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญลดหย่อนได้ 15% ของเงินได้ตามจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท
3. ค่าลดหย่อนกลุ่มเงินบริจาค
- เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามจริง ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ และบริจาคเพื่อสถานพยาบาลของรัฐลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาค ไม่เกิน 10% ของรายได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคให้กับพรรคการเมืองไม่เกิน 10,000 บาท
4. ค่าลดหย่อนจากนโยบายของรัฐ
- ดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อหรือสร้างที่อยู่อาศัยไม่เกิน 100,000 บาท
วิธีคำนวนภาษี
มาถึงไฮไลท์ของเรากันแล้วกันวิธีการคำนวณภาษี โดยจะแบ่งออกเป็น 2 วิธีดังนี้
วิธีคำนวณแบบขั้นบันได
เงินได้สุทธิ | อัตราภาษี |
---|---|
1 – 150,000 | ได้รับการยกเว้น |
150,001 – 300,00 | 5% |
300,001 – 500,000 | 10% |
500,001 – 750,000 | 15% |
750,001 – 1,000,000 | 20% |
1,000,001 – 2,000,000 | 25% |
2,000,001 – 5,000,000 | 30% |
5,000,001 บาทขึ้นไป | 35% |
วิธีคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดจะใช้เมื่อเพื่อน ๆ มีรายได้แบบตายตัว หรือเงินเดือนนั้นแหละ โดยเพื่อนสามารถนำสูตรที่เราบอกไว้ตอนต้นมาใช้ได้เลย ในอันดับแรกเพื่อน ๆ ต้องคำนวณเงินได้สุทธิโดยนำรายได้ทั้งหมดมาหักค่าลดหย่อน หลักจากนั้นนำรายได้สุทธิมาคำนวณตามแบบดังนี้
- เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (อัตราภาษี 0% หรือได้รับการยกเว้นภาษี)
ภาษี = 0 บาท - เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
ภาษี = (เงินได้สุทธิ – 150,000) x5% - เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500 - เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)
ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500 - เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 (อัตราภาษี 20%)
ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000 - เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท (อัตราภาษี 25%)
ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000 - เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท (อัตราภาษี 30%)
ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000 - เงินได้สุทธิมากกว่า 5 ล้านบาท (อัตราภาษี 35%)
ภาษี = [ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000
ถ้าเงินได้สุทธิเพื่อน ๆ อยู่ในช่วงไหนของตารางอัตราภาษีก็สามารถแทนค่าและคำนวณ ก็จะได้จำนวณภาษีที่เพื่อน ๆ ต้องจ่ายจริงนั้นเอง
วิธีคำนวณภาษีแบบเหมา
ในกรณีที่เพื่อน ๆ มีรายได้มากว่าหนึ่งทาง หรือก็คือมีรายได้เสริมนอกจากเงินเดือน รวมกันตั้งแต่ 1,000,000 บาทขึ้นไปสามารถคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้ โดยสามารถใช้สูตรคำนวณดังนี้
ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005
ข้อสังเกตุ
- คำนวณภาษีแบบเหมาจะคำนวณรายได้ทั้งหมด ยกเว้นเงินเดือน
- หากคิดภาษีออกมาแล้ว ไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในการคิดแบบเหมา
ตัวอย่างเช่น
(1,000,000 – 50,000) x 0.005 = 4,750 บาท
จากรายได้รวม 1,000,000 บาท และเงินเดือน 50,000 บาท จะเห็นว่าคำนวณภาษีออกมาแล้วได้ 4,750 ถือว่าได้รับการยกเว้นภาษีในการคิดแบบเหมา
แนะนำโปรแกรมคำนวณภาษี
สำหรับเพื่อน ๆ ที่อยากจะเมคชัวร์หรือกลัวตัวเองจะคำนวณผิดพลาด ในช่วงท้ายนี้เราก็นำโปรแกรมคำนวณภาษีที่ฟรีและใช้งานได้ง่าย มาฝากเพื่อน ๆ ให้ลองเข้าไปใช้งานกันดู
โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกสิกรไทย
เข้าใช้งานได้ที่ : https://www.kasikornasset.com/Pages/CalTax.html
เป็นโปรแกรมคำนวณภาษีที่ใช้งานง่ายมาก ๆ เพียงแค่กรอกข้อมูลรายได้และการลดหย่อนต่าง ๆ ก็จะสรุปภาษีที่ต้องจ่ายออกมาให้ทันที รวมถึงยังสามารถแนะนำการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ ที่จะช่วยลดหย่อยภาษีเพิ่มเติมให้เพื่อน ๆ ซึ่งสามารถทดลองกรอกจำนวนเงิน ตัวโปรแกรมจะสรุปออกมาให้ว่าถ้าเพื่อน ๆ ลงทุนเป็นจำนวนเงินเท่านี้จะลดหย่อนภาษีได้อีกเท่าไหร่
โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกรุงไทย
เข้าใช้งานได้ที่ : https://www.ktam.co.th/tax.aspx
โปรแกรมคำนวณภาษีที่ให้รายละเอียดครบถ้วนไม่ต่างจากของธนาคารกสิกรไทยมากนัก แต่การกรอกข้อมูลจะทั้งหมดจะอยู่ในหน้าเดียวพร้อมมีตารางสรุปอัตราภาษีว่าเพื่อน ๆ อยู่ในช่วงไหนต้องเสียภาษีเท่าไหร่ แจกแจงมาให้เรียบร้อยเลยหละ
โปรแกรมคำนวณภาษีธนาคารกรุงศรี
เข้าใช้งานได้ที่ : https://www.krungsri.com/th/calculator/tax-plan/3-min-tax-saver
โปรแกรมคำนวณภาษีตัวสุดท้ายที่เราจะแนะนำมาจากธนาคารกรุงศรี ซึ่งโดดเด่นในเรื่องของการใช้งานง่ายและรวดเร็วเพียง 3 นาที และยังมีการสรุปแจกแจงอัตราภาษีที่เพื่อน ๆ ต้องจ่ายในแต่ละช่วงรายได้มาให้ครบ แต่จะไม่สามารถทดลองคำนวณค่าลดหย่อนจากกองทุนอื่น ๆ ได้
สุดท้ายนี้เราก็อยากให้เพื่อน ๆ รู้วิธีคำนวณภาษีไว้บ้าง ไม่ว่าจะได้คำนวณเองหรือไม่ก็ตาม ถึงแม้ว่าการยื่นภาษีออนไลน์ของกรมสรรพกรจะมีระบบในการคำนวณภาษีออกมาให้อยู่แล้ว แต่หากเกิดข้อผิดพลาดก็มีแต่ตัวเพื่อน ๆ เองนี่แหละที่จะรู้ก่อนใคร และนี่ก็ใกล้ช่วงที่ต้องยื่นภาษีประจำปีกันแล้ว หวังว่าเพื่อน ๆ จะสามารถนำข้อมูลที่เราแนะนำไปใช้ประโยชน์กันได้กันอย่างทั่วหน้า ในครั้งหน้า LearningFeel จะมาแชร์อะไรให้เพื่อน ๆ อีกก็อย่างลืมติดตามกันด้วยหละ