หลังจากที่เราได้แชร์วิธียื่นภาษีออนไลน์ 2567 ฟอร์มภาษีอีกแบบนึงที่เราอยากให้เพื่อน ๆ รู้จักกันก็คือ ภ.ง.ด.94 หรือภาษีครึ่งปีนั้นเอง ซึ่งก็ถือเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีกประเภทที่เหล่ามนุษย์เงินได้อาจจะไม่ค่อยได้ยินกันมากนัก ในบทความนี้เราก็จะมาแชร์วิธีการยื่นแบบภาษีครึ่งปีให้เพื่อน ๆ แบบครบถ้วนไปกับ วิธียื่นภาษีภ.ง.ด.94 ออนไลน์ ภาษีครึ่งปี ฟรีแลนซ์ต้องรู้
ภ.ง.ด.94 ภาษีครึ่งปี คืออะไร ?
ภ.ง.ด.94 หรือ ภาษีครึ่งปี ความหมายก็ตรงตามชื่อเลย ก็คือภาษีที่ชำระในรอบครึ่งปี โดยคำนวณรายได้ตั้งแต่ 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. โดยคำนวณเฉพาะรายได้จากช่องทางอื่น ๆ นอกจากเงินเดือน ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถยื่นภาษีภ.ง.ด.94 ได้ตั้งแต่ 1 ก.ค. – 30 ก.ย. ของทุกปี
ทำไมเราต้องยื่นภาษีครึ่งปี
สาเหตุที่เพื่อน ๆ จำเป็นต้องยื่นภาษีครึ่งปี เพราะว่ารายได้จากช่องทางอื่นนอกเหนือจากเงินเดือนเป็นรายได้ที่ไม่คงที่ เช่น งานฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์หรือจากหุ้นก็ตาม ทำให้ในแต่ละเดือนอาจมีรายได้มากน้อยไม่เท่ากัน การยื่นภาษีครึ่งปีจะนำรายได้ครึ่งปีมาคำนวณก่อน เพื่อให้สามารถทยอยจ่ายและลดภาระในการจ่ายภาษีในส่วนของ ภ.ง.ด.90/91 ในช่วงปลายปีได้ นอกจากนี้ยังเป็นตัวช่วยในหลาย ๆ ส่วนดังนี้เลย
- แบ่งเบาภาระในการจ่ายภาษี
- ง่ายต่อการจัดทำเอกสาร
- ช่วยสร้างความหน้าเชื่อถือในการวางแผนการเงิน และการขอสินเชื่อ
ใครต้องเสียภาษี ภ.ง.ด.94 บ้าง
คนที่ต้องยื่นภาษีด้วยแบบ ภ.ง.ด.94 คือ บุคคลธรรมดาที่มีเงินได้ตามมาตรา 40(5)-(8) ซึ่งเงินได้ประเภทที่เข้าข่ายประกอบด้วย
- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 5 คือเงินได้หรือประโยชน์ ที่ได้มากจากการให้เช่าทรัพสิน เช่น บ้าน รถยนต์
- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 6 คือเงินได้จากอาชีพอิสระ เช่น งานฟรีแลนซ์ต่าง ๆ รับจ้างทั่วไป
- ผู้มีเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากธุรกิจ พาณิชย์ การเกษตร อุสาหกรรม การขนส่ง หรืออื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุไว้ในประเภทที่ 1-7
ถ้าเพื่อน ๆ เป็นผู้มีเงินได้ในประเภทข้างต้น จำเป็นต้องยื่นแบบภาษีครึ่งปีหากเข้าเงื่อนไขดังต่อไปนี้
- เป็นคนโสดที่มีรายได้เกิน 60,000 บาท
- สถานนะสมรสที่มีรายได้ ไม่ว่าจะเป็นผ่ายเดียวหรือทั้งสองผ่ายรวมกันเกิน 120,000 บาท
- กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง คิดเป็นเงินได้พึงประเมิน 60,000 บาท
- ห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ใช่นิติบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ที่มีรายได้เกิน 60,000 บาท
- วิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งมีเงินได้เกิน 1,800,000 บาท หรือเกิน 60,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,800,000 บาทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
ช่องทางการลดหย่อนภาษี ภ.ง.ด.94
ภ.ง.ด.94 สามารถหักค่าลดหย่อนได้ 2 วิธี คือหักตามจริงและแบบเหมา 60% โดยการหักค่าใช้จ่ายตามจริง เหมาะกับเพื่อน ๆ ที่อาจจะทำธุรกิจเป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ที่มีต้นสุนสินค้าสูง เพราะค่าใช้จ่ายที่จะนำมาลดหย่อนก็จะสูงตามต้นทุนไปด้วย ส่วนแบบเหมา 60% จะไม่จำเป็นต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใด ๆ ซึ่งเพื่อน ๆ สามารถเลือกคำนวณภาษีได้ตามความเหมาะสมได้เลย นอกจากนี้ยังสามารถลดหย่อนภาษีในส่วนอื่น ๆ ได้ด้วยซึ่งจะมีส่วนที่คล้ายกับ ภ.ง.ด.90/91 และแตกต่างกันบ้าง เพื่อน ๆ สามารถศึกษาได้ในแบบยื่นภาษีของกรรมสรรพกรได้เลย
ช่องทางการยื่นภาษีครึ่งปี
ช่องทางใรการยื่นภ.ง.ด.94 ในปี 2567 มีทั้งหมด 3 ช่องทาง คือ การยื่นภาษีออนไลน์ครึ่งปี ภ.ง.ด.94, ยื่นตรงกับกรมสรรพกรในพื้นที่ และส่งทางไปรษณีย์ไปยังกองบริหารการคลังและรายได้ กรมสรรพากร และชำระภาษีตามช่องทางที่กำหนด โดยเพื่อน ๆ สามารถเลือกช่องทางที่สะดวกที่สุดได้เลย
วิธียื่นภาษีภ.ง.ด.94 แบบออนไลน์
ในการยื่นภาษีภ.ง.ด.94 วิธีการนั้นไม่ต่างจากการยื่นภ.ง.ด.90/91 เท่าไหร่นัก เราจะมาแนะนำวิธียื่นภาษีภ.ง.ด.94 ออนไลน์ เพื่อน ๆ สามารถทำตามขั้นตอนนี้ได้เลย
ขั้นตอนที่ 1 : เข้าสู่เว็บไซต์และเข้าสู่ระบบ
เข้าสู่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
ก่อนจะยื่นภาษีครึ่งปีเพื่อน ๆ น่าจะผ่านการยื่นภาษีภ.ง.ด.90/91 แล้วเพื่อน ๆ ก็สามารถใช้บัญชีเดิมได้เลย โดยเลือกที่ “เข้าสู่ระบบ” และกรอกรหัส OTP ที่ส่งมาทางโทรศัพท์ให้เรียบร้อย
ขั้นตอนที่ 2 : เลือกแบบการยื่นภาษี
ในส่วนนี้ให้เพื่อน ๆ เลือกยื่นแบบภ.ง.ด.94 เพื่อยื่นภาษีครึ่งปี
ขั้นตอนที่ 3 : กรอกข้อมูลส่วนบุคคล
กรอกข้อมูลส่วนตัวของเพื่อน ๆ ให้ครบถ้วนถ้าสถานะเป็นสมรสก็อย่าลืมกรอกข้อมูลการแยกยื่นภาษีด้วยนะ จากนั้นกดถัดไปได้เลย
ขั้นตอนที่ 4 : กรอกประเภทเงินได้และการลดหย่อนภาษี
ให้เพื่อน ๆ กรอกเงินได้จากทุกช่องทางในช่วง 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. ที่นอกเหนือจากเงินเดือน และกดถัดไปเพื่อกรอกข้อมูลการลดหย่อนภาษีทั้งหมด ในขั้นตอนนี้อย่าลืมตรวจสอบให้ดีด้วยนะ
ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบข้อมูลและยื่นแบบ
เมื่อถึงตรงนี้ให้เพื่อนตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดอีกครั้งให้เรียบร้อย ถ้าถูกต้องแล้วสามารถกดยื่นแบบได้เลย แล้วก็อย่าลืมกดบันทึกร่างไว้เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่ผิดพลาดด้วยหละ
ทั้งหมดของการยื่นภาษีภ.ง.ด.94 หรือภาษีครึ่งปีก็มีเพียงเท่านี้ ซึ่งในความเป็นจริงคนรอบตัวเราที่ทำธุรกิจส่วนตัวก็ไม่ได้ยื่นภาษีครึ่งปีกันหรอก แต่ว่าเราไม่ได้บอกว่าไม่ยื่นก็ได้นะ เพราะหากมีการตรวจสอบในทางกฏหมายก็ถือว่ามีความผิดอยู่ดีแหละ ส่วนนี้ก็แล้วแต่เพื่อน ๆ จะพิจารณากันเลย แต่ยังไงถ้าเพื่อนทำธุรกิจส่วนตัวหรืออาชีพอิสระเราก็แนะนำว่ายื่นไปไว้ก็ดีกว่ามาเจอปัญหาทีหลังนะ สำหรับวันนี้ LearningFeel ก็ต้องขอลาไปก่อน สวัสดีนะ