ทำความรู้จัก Data Visualization คืออะไร รู้ไว้ยังไงก็ดี

Data Visualization คืออะไร หน้าปก

มาถึงวันนี้เราเชื่อว่า เพื่อน ๆ คงเข้าใจความสำคัญของข้อมูลกันมาพอสมควรแล้ว แต่ว่านะสิ่งที่สำคัญที่สุดของ Data คือการนำไปใช้งานยังไงหละ เพื่อที่เราจะได้เข้าใจและใช้งานข้อมูลให้เกิดประสิทธิภาพได้สูงสุด การสร้างแผนภาพหรือ Data Visualization นับเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ แล้ว Data Visualization คืออะไร จะใช้งานได้ยังไง เราจะมาเรียนรู้ไปด้วยกันในบทความ ทำความรู้จัก Data Visualization คืออะไร รู้ไว้ยังไงก็ดี

Data Visualization คืออะไร ?

Data Visualization คืออะไร

Data Visualization คือการนำข้อมูล  ที่ได้มาจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ และผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลจนได้ผลลัพธ์มาเรียบร้อย มาแสดงผลในรูปแบบของกราฟ แผนภูมิ หรือแดชบอร์ด (Dashboard) ให้อยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ต่อได้

จุดประสงค์ของการทำ Data Visualization คือการทำให้ผลลัพธ์ที่เราได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและรวดเร็ว ว่าข้อมูลของเรานั้นต้องการที่จะสื่อสารอะไร แสดงให้เห็นถึงจุดสำคัญของเนื้อหาและ Inside ของข้อมูลอย่างชัดเจน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อองค์กรและธุรกิจ

ประโยชน์จากการทำ Data Visualization

การดูข้อมูลที่มีแต่ตัวอักษรยั้วเยี้ยเต็มไปหมด สำหรับคนทั่วไปที่ไม่ได้เป็น Domain Expert  หรือเจ้าของ Data อาจจะทำความเข้าใจได้ยาก ซึ่ง Data Visualization  ก็จะเข้ามาช่วยให้ข้อมูลที่เรามีเหล่านี้ ทำความเข้าใจได้ง่ายมากยิ่งขึ้นและสามารถส่งต่อให้กับคนที่เกี่ยวข้องใช้งานต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือจะให้เราพูดง่าย ๆ ก็คล้ายกับการทำ Presentation ที่เราคุ้นเคยกันนั่นแหละ เราสรุปประโยชน์ของ Data visualization มาให้เพื่อน ๆ ดังต่อไปนี้

  • ช่วยให้ข้อมูลเข้าใจได้ง่ายและน่าสนใจมากขึ้น เนื่องจากเป็นข้อมูลที่ถูกจัดรูปแบบให้เข้าใจได้ในทันทีด้วยแผนภาพที่มีสีสันสวยงาม
  • ช่วยให้เห็น insight ของข้อมูลได้ชัดเจนยิ่งขึ้นรับรู้จุดที่ต้องโฟกัสจากข้อมูลที่ถูกย่อยและจัดเรียงมาเป็นอย่างดี นำเสนอในรูปแบบที่สามารถมองออกได้ด้วยตาเปล่า ว่าจุดไหนที่น่าสนใจ
  • ช่วยประหยัดเวลาในการตีความข้อมูล สามารถเข้าใจข้อมูลได้ทันทีโดยไม่ต้องตีความมากมาย ลดภาระในการค้นหาและเปรียบเทียบข้อมูล

Data Visualization มีกี่รูปแบบ ?

รูปแบบของ Data Visualization นั้นมีหลากหลายมากมายจนแทบไม่ถ้วนเลยหละ และแต่ละรูปแบบก็มีฟังก์ชันในการนำเสนอข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป นำมีทั้งทำให้เข้าใจง่ายหรือเน้นในการนำเสนอเปรียบเทียบ จนไปถึงการเล่าเรื่องให้ทำความเข้าใจได้ง่าย ในครั้งนี้เราจะนำเสนอรูปแบบการทำ Data Visualization ที่ถูกใช้บ่อยและเป็นพื้นฐานให้เพื่อน ๆ ควรจะรู้ไว้

1. แผนภูมิ (Charts)

ประเภทของ Data Visualization แผนภูมิ (Charts)

รูปแบบแรกของ Data visualization ที่เราอยากจะนำเสนอให้กับเพื่อน ๆ ก็คือ แผนภูมิ (Charts) ซึ่งเป็นรูปแบบที่เราเชื่อว่าทุก ๆ คนน่าจะคุ้นเคยกันเป็นอย่างนี้ โดยเป็นรูปแบบที่มีหน้าตาหลากหลาย โดยจะเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ ตัวอย่างแผนภูมิที่เห็นได้บ่อย เช่น Pie Chart  ที่จะช่วยให้เห็นถึงปริมาณความแตกต่างไม่อย่างชัดเจน หรือฮิสโตแกรมที่ใช้นำเสนอความถี่ตามปริมาณของข้อมูล เพื่อดูการกระจายตัวของข้อมูล รวมถึงกราฟที่เป็นสับเซตย่อยของแผนภูมิที่ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 2 ตัวแปรช่วยให้เห็นเทรนด์ ซึ่งใช้ประกอบการตัดสินใจได้เป็นอย่างดี

2. ตาราง (Table)

ประเภทของ Data Visualization ตาราง (Table)

ตาราง (Table) เป็นอีกหนึ่งรูปแบบที่ถูกใช้ในการนำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย โดยประกอบด้วย 2 ส่วนคือคอลัมน์และแถวซึ่งช่วยให้จัดการข้อมูลได้อย่างเรียบร้อย และเห็นความสัมพันธ์ของข้อมูลได้ง่ายมากขึ้น

3. แผนที่ (Maps)

blank

ที่มา :https://www.arcgis.com/apps/View/index.html?appid=202b753ec97444fb8fe9d97485fe22e3

แผนที่ (Maps) เป็นการนำเสนอข้อมูลในรูปแบบของแผนที่เพื่อแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ต่าง ๆ  ตัวอย่างเช่นข้อมูลประชากรแต่ละจังหวัดในประเทศไทย นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งออกเป็นสีสันต่าง ๆ เพื่อแสดงถึงปริมาณภายในแผนที่ได้ด้วย

4. อินโฟร์กราฟฟิก (Infographic)

ประเภทของ Data Visualization อินโฟร์กราฟฟิก (Infographic)

การนำเสนอในรูปแบบของสารสนเทศหรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ Infographic เป็นเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยใช้ภาพแทน เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจข้อมูลได้ง่าย โดยอาศัยเทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) เข้ามาช่วยทำให้การนำเสนอข้อมูลมีความน่าสนใจมากขึ้น

5.แดชบอร์ด (Dashboard)

ประเภทของ Data Visualization Dashboard

รูปแบบสุดท้ายก็คือ Dashboard ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเป็นการนำข้อมูลมาเรียบเรียงและสรุปเป็นภาพ ด้วยแผนภูมิ กราฟ อย่างสวยงามและเข้าใจง่าย โดยใช้การนำเสนอข้อมูลเป็น User Interface แบบ Real Time ผ่านซอฟต์แวร์และเครื่องมือการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกดูข้อมูลที่ต้องการได้ทันที

องค์ประกอบสำของ Data Visualization

การทำ Data Visualization ไม่ใช่แค่เพียง นำกราฟ แผนภูมิ หรือตาราง มาจัดวางอยู่ในหน้าเดียวกันเพียงเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยศาสตร์และศิลป์เข้ามาช่วยในการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้สามารถนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ รวมถึงการทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้ง่ายอีกด้วย เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ในการใช้งานข้อมูล โดยองค์ประกอบสำคัญของ Data Visualization  มีดังต่อไปนี้

  • ข้อมูล (Information) – สารตั้งต้นของการทำ Data visualization  เมื่อมีข้อมูลก็จำเป็นต้องนำข้อมูลมาจำแนกเพื่อเลิกข้อมูลที่สำคัญและตอบโจทย์กับจุดประสงค์ของการนำเสนอ ซึ่งต้องอาศัยความเข้าใจในข้อมูลเป็นอย่างดี
  • เรื่องราว (Story) – การเรียบเรียงข้อมูลให้ออกมาเป็นลำดับขั้นตอน ตั้งแต่ภาพใหญ่จนไปถึงภาพย่อย เพื่อนำเสนอในมุมมองต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานข้อมูลสามารถเข้าใจข้อมูลได้อย่างเป็นลำดับ
  • เป้าหมาย (Goal) – การตั้งคำถามว่าเราจะทำ Data visualization ในครั้งนี้ไปเพื่ออะไร ตอบโจทย์กับวัตถุประสงค์ของเราไหม ซึ่งการตั้งคำถามให้ชัดเจน เป็นเหมือนกับแกนกลางในการนำเสนอข้อมูล
  • รูปแบบการนำเสนอ (Visual Form) – เลือกรูปแบบการนำเสนอข้อมูลให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ ในการใช้งานข้อมูลของเราเพื่อให้นำเสนอข้อมูลออกมาได้อย่างตรงจุด

เครื่องมือสำหรับการทำ Data Visualization

ในการทำ Data Visualization สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเครื่องมือที่จะใช้ในการทำนั่นเอง เราไม่สามารถบอกได้ว่าเราทำ Data Visualization  แล้วหากเรานำเสนอข้อมูลแบบโล้น ๆ ไปใช่ไหมล่ะ แล้วเราจะใช้เครื่องมืออะไรในการนำเสนอข้อมูลได้บ้าง ในวันนี้เราก็มี Data Visualization Tool ที่ใช้งานได้ง่ายและใกล้ตัวที่สุดมาแนะนำให้กับเพื่อน ๆ กัน

Microsoft Excel

แนะนำเครื่องมือ Data Visualization Microsoft Excel

เครื่องมือที่ง่ายและเราเชื่อว่าใกล้ตัวเพื่อน ๆ ทุกคนมากที่สุดก็คือ Microsoft Excel ที่เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ Data ที่เรียกได้ว่าพื้นฐานที่สุด แต่นอกจากการเก็บ Data ในรูปแบบของตารางแล้ว  Microsoft Excel ยังสามารถทำ Data visualization  ได้หลากหลายรูปแบบมาก ๆ ไม่ว่าจะเป็นกราฟ แผนภูมิ Map อย่างง่าย ๆ จนไม่ถึงการสร้าง Dashboard Excel แบบ interactive  ก็สามารถทำได้

Google Data Studio

แนะนำเครื่องมือ Data Visualization Google Data Studio

Google Data Studio เป็นซอฟต์แวร์สำหรับการสร้าง Data vitalization โดยเฉพาะจาก Google ซึ่งจุดเด่นสำคัญ คือการใช้งานที่สะดวกสบายสามารถเชื่อมต่อข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างง่ายดายโดยเฉพาะกับ Tools ของ Google เอง อย่างเช่น  Google Search Console, Google Ads, Google Analytic หรือ YouTube การใช้งานก็ง่ายแสนง่าย เพียงแค่ Drag and Drop  ก็สามารถสร้าง Data Visualization สวยๆตามแบบของเพื่อนๆได้เลย นอกจากนี้ที่สำคัญที่สุดคือสามารถใช้ฟรีได้แค่มีบัญชี Gmail เท่านั้น

ใครกันที่ควรรู้ Data Visualization กันนะ

ถ้าเพื่อน ๆ เคยอ่านบทความเกี่ยวกับ Data บน LearningFeel อาจจะคิดว่าทักษะ Data Visualization นั้นจำเป็นแค่เฉพาะสายงานที่เกี่ยวกับ Data  ไม่ว่าจะเป็น Data Scientist,  Data Engineer และ Data Analyze แต่ในความเป็นจริงแล้วทักษะการนำเสนอข้อมูล เป็นทักษะพื้นฐานที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ สายงาน ไม่ว่าจะเป็น AE, Creative หรือ Business Development หรือสายงานต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า เพราะว่าในแทบจะถูกสายงานมี Data เป็นรากฐานทั้งสิ้น หรือจะให้เราพูดก็คือ  Data visualization ก็เป็นอีกหนึ่งทักษะที่ถ้ามีเวลาเราก็อยากแนะนำให้เพื่อน ๆ ศึกษาเป็นสกิลติดตัวไว้นะ

Data Visualization คืออะไร สรุป

และนี่คือทั้งหมดของ Data visualization คืออะไร รู้ไว้ยังไงก็ดี เป็นทักษะที่น่าสนใจเลยใช่ไหมล่ะ หลังจากอ่านบทความนี้เราเชื่อมาก ๆ เลยว่าเพื่อน ๆ จะเข้าใจเกี่ยวกับทักษะนี้กันมากขึ้นและพื้นฐานทั้งหมดที่เราได้แชร์ให้กับทุกคนในวันนี้ จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ทั้งกับงานและชีวิตประจำวันของเพื่อน ๆ ได้อย่างแน่นอน ในบัตรความถัดไปเราจะมาแนะนำ เครื่องมือ Data visualization กันแบบจัดหนักจัดเต็ม รอติดตามที่ LearningFeel ได้เลย

Verified by MonsterInsights